Claude Code ผู้ช่วย dev สุดเมพ

Claude Code ผู้ช่วย dev สุดเมพ

ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ AI มีการแข่งขันกันพัฒนาโมเดล AI เพื่อปล่อยมาให้ user ได้ใช้งานกัน ทั้งความสามารถที่น่าทึ่งและการใช้งานที่ง่ายดายอย่าง chatbot ที่ใช้งานกันในวงกว้างตั้งแต่คนทั่วไป (ที่เข้าถึง internet) จนไปถึง developer ระดับสูง แต่นอกจาก chatbot แล้ว ยังมีเครื่องมืออย่างอื่นที่ใช้พลังของ AI ในการเสริมประสิทธิภาพ ซึ่งเหมาะแก่การใช้งานของ dev เพื่อให้งานเสร็จอย่างรวดเร็ว ลดข้อผิดพลาด หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนขอแนะนำเครื่องมืออย่าง “Claude Code”

Claude Code คืออะไร?

Claude Code เป็นตัวช่วยในการเขียน code ที่มีการทำงานของ AI agent อยู่เบื้องหลังโดยล่าสุดใช้โมเดลอย่าง Claude 3.7 Sonnet ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท Anthropic Claude Code สามารถใช้งานได้ผ่าน Terminal ของเครื่องเรา ซึ่งจะแตกต่างจากตัวช่วยอื่นๆ อย่าง Github Copilot และ Gemini Code Assist ที่สามารถใช้งานร่วมกับ Code Editor อย่าง VScode ได้

เราสามารถเริ่มใช้งานตามคำแนะนำจาก official website ได้ ที่นี่

Claude code ทำอะไรได้?

จุดแข็งของ Claude code นั้นสามารถทำได้ มีดังนี้

  • Extended thinking mode ในโมเดลใหม่อย่าง Claude 3.7 Sonnet มี feature ใหม่โดยสามารถเลือก mode ในการหาคำตอบได้ โดยมี Standard mode ที่เน้นความเร็วในการตอบคำถามทั่วไป และ Extended thinking mode ที่ใช้เวลาในการคิดนานกว่าและคิดหลายขั้นตอนก่อนที่จะตอบคำถามเชิงลึกได้ (ซึ่งไม่มีใช้ใน free plan)

ตัวอย่างจาก Claude: เลือก mode ก่อนถามคำถาม

หลังจากถามคำถามแล้ว Clause จะโชว์สิ่งที่คิดแต่ละอย่างจนถึงคำตอบสุดท้ายและเวลาที่ใช้

ลำดับการคิดและจำนวน token ที่จำกัด

  • แก้ไข code และ debugging เราสามารถให้ Claude Code ช่วยแก้ error ใน code ของเราในจุดที่เราไม่เข้าใจหรือไม่สามารถแก้ด้วยตัวเองได้ จากตัวอย่างด้านล่างเป็นแก้ error จากการ import library เข้ามา
  • สามารถทำ code refactoring ได้ เพื่อลดความผิดพลาดและอ่านได้ง่ายขึ้น
  • อธิบายการทำงานของ code โดยการเพิ่ม comments ใน code ของเรา จากตัวอย่างด้านล่างฝั่งขวาเป็นการอธิบาย component รวมของ code เป็นข้อๆ และเพิ่ม comments อธิบายในแต่ละส่วนของ code เรา
  • สามารถทำ testing หรือ linting ได้ เรียกได้ว่าแทบจะเป็นมาตรฐานสำหรับงาน Automation ที่ต้องมีการ test และ lint code ก่อนนำไปยังขั้นตอนต่อๆไป เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ใน production ซึ่งในผู้ใช้งานบางรายพบว่า linting จาก Claude code ไม่สามารถทำแบบ automated ได้ ต่างจาก Cursor (เป็น code editor การใช้งานคล้ายกับ VScode) ที่สามารถทำได้ ดูรายละเอียดการทดสอบได้ ที่นี่

เมื่อเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่นๆ

เมื่อนำ Claude Code มาทดสอบกับ SWE-bench Verified ซึ่งเป็นชุดทดสอบที่ทาง OpenAI ได้พัฒนาต่อยอดจาก SWE-bench เพื่อให้สามารถวัดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของ AI ได้แม่นยำขึ้น ได้ผลดังนี้

หรือผลทดสอบอื่นอย่าง TAU-bench ซึ่งเป็นการทดสอบการทำตามคำสั่งที่ซับซ้อนและมีหลายขั้นตอนได้

และเมื่อสรุปผลการทดสอบในหลายๆ เรื่องกับของคู่แข่ง Claude Code สามารถแสดงประสิทธิภาพโดยรวมที่เหนือกว่า

สรุป

โดยรวม Claude Code เป็น code assistant ที่ใช้ความสามารถของ AI ซึ่งมี features ที่น่าสนใจหลายๆ อย่างและสามารถนำมาใช้กับ Project ของเราเพื่อให้ทำงานได้รวดเร็วและมีข้อผิดพลาดลดลงได้ แต่ยังจุดที่ต้องปรับปรุงอย่าง linting ที่ไม่สามารถทำโดยอัตโนมัติได้ ในขณะที่ code editor อย่าง Cursor สามารถทำได้ ถ้าวัดกันด้วยประสิทธิภาพโดยรวมของตัวโมเดล AI เองนั้น ยังถือว่า Claude Code ที่ใช้ Claude 3.7 Sonnet นั้นถือว่ายังเป็นผู้นำ ณ ขณะนี้ แต่ด้วยการแข่งขันอุตสาหกรรม AI ที่สูงมาก บริษัทต่างๆ สามารถปล่อยโมเดล AI ใหม่ๆ ที่เก่งกว่าของคู่แข่งได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลดีกับผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่จะได้ใช้ของดีๆ และสามารถเปลี่ยนได้ตลอดตามการใช้งานและงบของเรา

Ref

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *